weopenmind.com Blog


หนังสือ/การเมือง

Posted in Uncategorized by Jacelyn on March 25, 2022
แนะนำหนังสือดีๆ
Book Online    ——————————————————————————————–  การเมืองไทยกับพัฒนาการรัฐธรรมนูญ  เสน่ห์ จามริก ผู้เขียน พิมพ์ครั้งที่ 3 (แก้ไขปรับปรุงเพิ่มเติม) 10 ธันวาคม 2549 หนา 400 หน้า มูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ จัดพิมพ์ ราคา 270 บาท อาจารย์เสน่ห์ เขียนหนังสือเล่มนี้และตีพิมพ์เป็นครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ.2529  จากรายงานวิจัยส่วนหนึ่งของชุดโครงการวิจัย “พัฒนาการสิทธิมนุษยชนในประเทศไทย” เขากล่าวไว้ในคำนำบรรณาธิการว่า  อาจารย์เสน่ห์ เขียนหนังสือเล่มนี้และตีพิมพ์เป็นครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ.2529  จากรายงานวิจัยส่วนหนึ่งของชุดโครงการวิจัย “พัฒนาการสิทธิมนุษยชนในประเทศไทย” เขากล่าวไว้ในคำนำบรรณาธิการว่า “…รัฐธรรมนูญเป็นแกนกลางของการแสวงความเข้าใจถึงสถานภาพของสิทธิมนุษยชนในสังคมการเมืองหนึ่ง ๆ แต่การตั้งเป้าหมายทางวิชาการไว้เช่นนี้ ก็หมายความถึงด้วยว่า การศึกษาเรื่องรัฐธรรมนูญจำเป็นต้องเป็นไปในลักษณะเชิงประจักษ์ สัมพันธ์ต่อสภาพความเป็นจริงของแต่ละบริบททางเศรษฐกิจและสังคม มิใช่โดยยึดติดอยู่กับหลักการหรือสมมติฐานอันเลื่อนลอย  หลักทฤษฎีหรืออุดมการณ์อาจนำมาใช้เป็นเกณฑ์คุณค่าหรือเป้าหมายที่จะพึงบรรลุถึงได้ ซึ่งก็เป็นสิ่งจำเป็นในการศึกษาสิทธิมนุษยชนและรัฐธรรมนูญ แต่สิ่งที่จำเป็นจะต้องทำความเข้าใจประกอบกันไปก็คือเงื่อนไขทางเศรษฐกิจการเมืองซึ่งช่วยให้เกณฑ์คุณค่าหรือเป้าหมายนั้น ๆ เป็นไปได้ หรือเป็นไปไม่ได้ และอย่างไร..”ความที่ยกมาพอจะบอกให้เห็นได้ว่าการกล่าวถึง “รัฐธรรมนูญ” ในหนังสือเล่มนี้มิได้หมายถึงแต่ส่วนที่เป็นกฎหมายสูงสุดในการปกครองประเทศเท่านั้น แต่ยังให้ความสำคัญกับบริบทแวดล้อมที่เกิดขึ้นในแต่ละยุคสมัย ซึ่งมีการจัดแบ่งบทดังนี้บทที่1 ความนำ: รัฐธรรมนูญกับชีวิตการเมือง กล่าวถึงรัฐธรรมนูญในกระบวนการทางสังคม-การเมือง กฎหมายรัฐธรรมนูญกับพัฒนาการทางการเมือง รัฐธรรมนูญกับปัญหาการสร้างสถาบัน บทที่2 ศตวรรษของการเมืองไทยยุคการเปลี่ยนแปลงให้ทันสมัย บทที่3 ระบอบรัฐธรรมนูญทหารกับปัญหาการพัฒนา บทที่4 ส่งท้ายสู่ : ประชาธิปไตยครึ่งใบในปี 2540 ท่ามกลางกระแสการปฏิรูปการเมืองและรัฐธรรมนูญฉบับประชาชน มีการจัดพิมพ์หนังสือเล่มนี้เป็นครั้งที่สองพร้อมด้วยบทปัจฉิมลิขิต ว่าด้วย “ปฏิรูปการเมือง” แล้วก็เงียบหายไป 9 ปี จนกระทั่งเกิดรัฐประหาร 19 กันยายน จึงมีการจัดพิมพ์เป็นครั้งที่ 3 เมื่อ 10 ธันวาคม 2549  พร้อมทั้งแก้ไขปรับปรุงเพิ่มเติมปัจฉิมลิขิต 2 ว่าด้วยหลุมพรางประชาธิปไตย ซึ่งอ.เสน่ห์ เสนอความเห็นในตอนท้ายสรุปได้ว่า การปฏิรูปประชาธิปไตยไม่ใช่เรื่องของสูตรสำเร็จที่พยายามถอดต้นแบบกันมาจากในบริบทเศรษฐกิจและสังคมวัฒนธรรมอื่น โดยปราศจากพื้นฐานความเข้าใจในประวัติศาสตร์และสังคมวัฒนธรรมของตนเอง แต่ต้องเปิดโอกาสให้มหาชนคนไทยเข้ามาเป็นบทบาทหลักในการปฏิรูปรอบสองนี้ด้วยมหาชนคนไทยจะมีส่วนเข้าไปมีบทบาทหลักในการร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ได้อย่างเข้มข้นสักเพียงใดคงมิใช่เรื่องที่เพียงแต่รอให้ใครหยิบยื่นโอกาสให้ แต่มหาชนนั้นจะต้องก้าวเข้าไปอย่างกระตือรือร้น และควรทราบไว้ด้วยว่าที่ผ่านมา “การเมืองไทยกับพัฒนาการรัฐธรรมนูญ” มีลักษณะเป็นไปเช่นไร โดยหยิบหนังสือเล่มนี้ขึ้นมาช่วยส่องทางอีกแรงหนึ่ง——————————————————————————————– อวสานสมบูรณาญาสิทธิราชย์ในสยาม  เบนจามิน เอ.บัทสัน ผู้เขียน กาญจนี ละอองศรี และยุพา ชุมจันทร์ บรรณาธิการแปล พิมพ์ครั้งที่ 2 24 มิถุนายน 2547 หนา 502 หน้า มูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ จัดพิมพ์  ราคา 290 บาท ปฏิวัติ 2475  แต่งโดย ชาญวิทย์ เกษตรศิริ และธำรงศักดิ์ เพชรเลิศอนันต์  พิมพ์ครั้งแรก ตุลาคม 2547 หนา 544 หน้า มูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ จัดพิมพ์ ราคา 290 บาท  อวสานสมบูรณาญาสิทธิราชย์ในสยามและปฏิวัติ 2475  เป็นหนังสือสองเล่มที่ควรอ่านควบคู่หรือต่อเนื่องกันไป เพราะถ้าพิจารณาในแง่เวลาแล้ว เล่มแรกกล่าวถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในยุคก่อนหน้าที่รัชกาลที่ 7 ขึ้นครองราชย์จนกระทั่งเป็นกษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญ แสดงให้เห็นถึงพัฒนาการและปัจจัยภายใน ภายนอก ที่ก่อให้เกิดความเปลี่ยนแปลง ส่วนเล่มหลังเน้นเหตุการณ์ตั้งแต่ปี 2475 ที่มีการเปลี่ยนแปลงการปกครองจนมาถึงหลังจากนั้นอีก 1 ปี    เป็นหนังสือสองเล่มที่ควรอ่านควบคู่หรือต่อเนื่องกันไป เพราะถ้าพิจารณาในแง่เวลาแล้ว เล่มแรกกล่าวถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในยุคก่อนหน้าที่รัชกาลที่ 7 ขึ้นครองราชย์จนกระทั่งเป็นกษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญ แสดงให้เห็นถึงพัฒนาการและปัจจัยภายใน ภายนอก ที่ก่อให้เกิดความเปลี่ยนแปลง ส่วนเล่มหลังเน้นเหตุการณ์ตั้งแต่ปี 2475 ที่มีการเปลี่ยนแปลงการปกครองจนมาถึงหลังจากนั้นอีก 1 ปีในแง่ผู้เขียน เบนจามิน เอ.บัทสัน ผู้เขียนเล่มแรกนั้นกล่าวได้ว่าเป็น นักประวัติศาสตร์ “ไทย”ที่ดีที่สุดในสังคมโลกภาษาอังกฤษตะวันตกจะพึงผลิตขึ้นมาได้ แม้เป็นชาวอเมริกันก็ตาม ส่วนชาญวิทย์ และธำรงศักดิ์ ผู้เขียนในเล่มหลังนั้นเป็นอาจารย์กับลูกศิษย์กันมาปฏิวัติ 2475 เป็นการรวมงานเขียน 2 เรื่องไว้ในเล่มเดียวกัน ชิ้นแรกเป็นงานเรื่อง 2475 การปฏิวัติสยาม ของชาญวิทย์ นักประวัติศาสตร์และอดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ที่เน้นบริบทสังคม ทั้งในประเทศและสังคมโลก ที่มีปฏิสัมพันธ์ต่อความรับรู้แนวความคิด และกระบวนการตัดสินใจทางสังคมการเมือง  ส่วนอีกเรื่องหนึ่งคือ 2475 และ1 ปีหลังการปฏิวัติ ของ ธำรงศักดิ์ เพชรเลิศอนันต์ นั้นมีที่มาจากวิทยานิพนธ์ด้านประวัติศาสตร์ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เมื่อปี 2533 โดยศึกษาความคิดและบทบาทของกลุ่มการเมืองฝ่ายต่าง ๆ ที่ต่อสู้แย่งชิงกันหลังจากเปลี่ยนแปลงการปกครอง ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญของความผันแปรเบี่ยงเบนเส้นทางของระบอบรัฐธรรมนูญ-ประชาธิปไตยไทยตั้งแต่ต้น——————————————————————————————–ปรีดี พนมยงค์ และ 4 รัฐมนตรีอีสาน +1  ชาญวิทย์ เกษตรศิริ และธำรงศักดิ์ เพชรเลิศอนันต์ บรรณาธิการ   พิมพ์ครั้งแรก 11 พฤษภาคม 2544 หนา 442 หน้า มูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ ร่วมกับหอจดหมายเหตุธรรมศาสตร์ จัดพิมพ์ ราคา 190 บาท ปรีดี พนมยงค์ และ 4 รัฐมนตรีอีสาน +1 เป็นหนังสือที่จัดพิมพ์เนื่องในวาระการจัดงานสัมมนาวิชาการเรื่องปรีดี พนมยงค์ และ 4 รัฐมนตรีอีสาน +1กับการเมืองไทย ในวาระ “ปิดงาน” เฉลิมฉลอง 100 ปีชาตกาล ฯพณฯปรีดี พนมยงค์ รัฐบุรุษอาวุโส ณ หอศิลปวัฒนธรรม ม.ธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ เมื่อวันศุกร์ที่ 11 พฤษภาคม 2544  เป็นหนังสือที่จัดพิมพ์เนื่องในวาระการจัดงานสัมมนาวิชาการเรื่องปรีดี พนมยงค์ และ 4 รัฐมนตรีอีสาน +1กับการเมืองไทย ในวาระ “ปิดงาน” เฉลิมฉลอง 100 ปีชาตกาล ฯพณฯปรีดี พนมยงค์ รัฐบุรุษอาวุโส ณ หอศิลปวัฒนธรรม ม.ธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ เมื่อวันศุกร์ที่ 11 พฤษภาคม 25444 รัฐมนตรีอีสาน + 1 ประกอบด้วย นายทองอินทร์ ภูริพัฒน์ (อุบลราชธานี เกิด2449-ตาย2492) นายจำลอง ดาวเรือง(มหาสารคาม 2453-2492)  นายถวิล อุดล (ร้อยเอ็ด 2452-2492) นายเตียง สิริขันธ์ (สกลนคร 2452-2495) ดร.ทองเปลว ชลภูมิ์ (สมุทรสาคร 2455-2492)  เป็นหนังสือที่จัดพิมพ์เนื่องในวาระการจัดงานสัมมนาวิชาการเรื่องปรีดี พนมยงค์ และ 4 รัฐมนตรีอีสาน +1กับการเมืองไทย ในวาระ “ปิดงาน” เฉลิมฉลอง 100 ปีชาตกาล ฯพณฯปรีดี พนมยงค์ รัฐบุรุษอาวุโส ณ หอศิลปวัฒนธรรม ม.ธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ เมื่อวันศุกร์ที่ 11 พฤษภาคม 25444 รัฐมนตรีอีสาน + 1 ประกอบด้วย นายทองอินทร์ ภูริพัฒน์ (อุบลราชธานี เกิด2449-ตาย2492) นายจำลอง ดาวเรือง(มหาสารคาม 2453-2492)  นายถวิล อุดล (ร้อยเอ็ด 2452-2492) นายเตียง สิริขันธ์ (สกลนคร 2452-2495) ดร.ทองเปลว ชลภูมิ์ (สมุทรสาคร 2455-2492)ในเหตุวิสามัญฆาตรกรรม “ยิงทิ้ง” นักการเมืองทั้งสี่ ระหว่างหลักกม.ที่14-15 บนถนนพหลโยธิน เมื่อ 4 มีนาคม 2492 นั้น ชาญวิทย์ เกษตรศิริ นักประวัติศาสตร์ ลงความเห็นว่าเป็น “เกมการเมือง” ที่ “เชือดไก่ให้ลิงดู” ที่รัฐตำรวจต้องการให้ ทั้ง “คนในและคนนอก” สยบยอมกับอำนาจนิยม และขณะเดียวกันหยุดยั้งพลังที่สามหรือทางเลือกใหม่ ให้กับสังคมไทยไปได้นานแสนนาน อย่างน้อยก็กว่า 2 ทศวรรษหนังสือเล่มนี้รวบรวมและเรียบเรียงแนวคิดและบทบาทการเมืองของบุคคลผู้ล่วงลับทั้งห้าไว้เพื่อการศึกษาต่อไป——————————————————————————————– จอมพล ป. พิบูลสงคราม กับการเมืองไทยสมัยใหม่  ชาญวิทย์ เกษตรศิริ ธำรงศักดิ์ เพชรเลิศอนันต์และวิกัลย์ พงศ์พนิตานนท์ บรรณาธิการ   พิมพ์ครั้งที่สอง 11 พฤษภาคม 2544 หนา 454 หน้า มูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ จัดพิมพ์ ราคา 250 บาท ผู้สนใจการเมืองไทยสมัยใหม่ ไม่มีใครไม่รู้จัก จอมพลป.พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรี 2 สมัย ดำรงตำแหน่งระหว่างปี 2481-2487 และ 2491-2500  ด้วยระยะเวลาอันยาวนานเช่นนี้จึงส่งผลให้การดำเนินนโยบายต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นเศรษฐกิจ การเมือง สังคมและวัฒนธรรมของรัฐบาลจอมพลป. กระทบและเปลี่ยนแปลงการเมืองไทยอย่างมหาศาล ผู้สนใจการเมืองไทยสมัยใหม่ ไม่มีใครไม่รู้จัก จอมพลป.พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรี 2 สมัย ดำรงตำแหน่งระหว่างปี 2481-2487 และ 2491-2500  ด้วยระยะเวลาอันยาวนานเช่นนี้จึงส่งผลให้การดำเนินนโยบายต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นเศรษฐกิจ การเมือง สังคมและวัฒนธรรมของรัฐบาลจอมพลป. กระทบและเปลี่ยนแปลงการเมืองไทยอย่างมหาศาลหนังสือเล่มนี้เป็นบันทึกการสัมมนาระหว่างวันที่ 24-25 มิถุนายน 2536 ณ ห้องประชุมอาคารอเนกประสงค์ ม.ธรรมศาสตร์ หัวข้ออภิปรายในครั้งนั้นได้แก่ จอมพลป.พิบูลสงครามที่ข้าพเจ้ารู้จัก , บทบาททางการเมืองของจอมพลป. , จอมพล ป.พิบูลสงคราม ในทัศนะนักวิชาการและนักการทหาร , นโยบายวัฒนธรรมของจอมพลป. , “ลัทธิชาตินิยม-ลัทธิทหาร : รัฐบาล จอมพลป.พิบูลสงคราม 2481-2487” ผู้สนใจการเมืองไทยสมัยใหม่ ไม่มีใครไม่รู้จัก จอมพลป.พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรี 2 สมัย ดำรงตำแหน่งระหว่างปี 2481-2487 และ 2491-2500  ด้วยระยะเวลาอันยาวนานเช่นนี้จึงส่งผลให้การดำเนินนโยบายต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นเศรษฐกิจ การเมือง สังคมและวัฒนธรรมของรัฐบาลจอมพลป. กระทบและเปลี่ยนแปลงการเมืองไทยอย่างมหาศาลหนังสือเล่มนี้เป็นบันทึกการสัมมนาระหว่างวันที่ 24-25 มิถุนายน 2536 ณ ห้องประชุมอาคารอเนกประสงค์ ม.ธรรมศาสตร์ หัวข้ออภิปรายในครั้งนั้นได้แก่ จอมพลป.พิบูลสงครามที่ข้าพเจ้ารู้จัก , บทบาททางการเมืองของจอมพลป. , จอมพล ป.พิบูลสงคราม ในทัศนะนักวิชาการและนักการทหาร , นโยบายวัฒนธรรมของจอมพลป. , “ลัทธิชาตินิยม-ลัทธิทหาร : รัฐบาล จอมพลป.พิบูลสงคราม 2481-2487”ผู้อภิปรายในครั้งนั้นนอกจากเป็นผู้ใกล้ชิดที่เคยร่วมงานแล้วยังมีลูกของจอมพลป.มาร่วมงาน และนักวิชาการอันมีชื่อเสียงเป็นที่ยอมรับกว้างขวาง สำหรับในหัวข้อที่สามนั้นมีนักการทหารที่บัดนี้ก้าวขึ้นนั่งเก้าอี้ตัวเดียวกับจอมพลป.มาร่วมแสดงความเห็นด้วย -ใช่แล้ว พล.ท.สุรยุทธ์ จุลานนท์ (ยศขณะนั้น)  ได้มาแสดงทัศนะจากฝ่ายทหารให้ฟัง เนื้อความเป็นเช่นไรต้องพลิกไปดูเอง——————————————————————————————– ประวัติการเมืองไทย 2475-2500  แต่งโดย ชาญวิทย์ เกษตรศิริ พิมพ์ครั้งที่สี่ 2549  หนา 576 หน้า มูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ จัดพิมพ์ ราคา 290 บาท ช่วงระยะเวลา 25 ปีแรกนับจากการเปลี่ยนแปลงการปกครอง2475  เป็นช่วงที่การเมืองไทยเต็มไปด้วยการต่อสู้แย่งชิงอำนาจของกลุ่มฝ่ายต่าง ๆ ทั้งในเวทีการเมืองตามกติกาและนอกกติกา การรัฐประหารและลัทธิทหารขึ้นมาขัดพัฒนาการประชาธิปไตยเป็นช่วง ๆ ชาญวิทย์ เกษตรศิริ เขียนงานเล่มนี้ออกมาตีพิมพ์ครั้งแรกเมื่อปี 2533 จนกระทั่งหนหลังสุดนี้เป็นการตีพิมพ์ครั้งที่ 4 เสมือนฉลองวาระ 16 ปีแห่งความหลัง ที่หลายเหตุการณ์กลับตามมาหลอกหลอนให้ย้อนยุค ทั้งการเผชิญหน้าแบ่งฝ่าย และรัฐประหารในยุคที่หลายคนนึกไม่ถึง ช่วงระยะเวลา 25 ปีแรกนับจากการเปลี่ยนแปลงการปกครอง2475  เป็นช่วงที่การเมืองไทยเต็มไปด้วยการต่อสู้แย่งชิงอำนาจของกลุ่มฝ่ายต่าง ๆ ทั้งในเวทีการเมืองตามกติกาและนอกกติกา การรัฐประหารและลัทธิทหารขึ้นมาขัดพัฒนาการประชาธิปไตยเป็นช่วง ๆ ชาญวิทย์ เกษตรศิริ เขียนงานเล่มนี้ออกมาตีพิมพ์ครั้งแรกเมื่อปี 2533 จนกระทั่งหนหลังสุดนี้เป็นการตีพิมพ์ครั้งที่ 4 เสมือนฉลองวาระ 16 ปีแห่งความหลัง ที่หลายเหตุการณ์กลับตามมาหลอกหลอนให้ย้อนยุค ทั้งการเผชิญหน้าแบ่งฝ่าย และรัฐประหารในยุคที่หลายคนนึกไม่ถึงประวัติการเมืองไทย 2475-2500 แบ่งการนำเสนอออกเป็น 8 บท เรียงตามลำดับเวลา เริ่มจากบทแรก เป็นบทนำว่าด้วยสังคมและการเมืองไทย ให้เห็นเส้นทางเดินจากสยามเก่าจนถึงการเปลี่ยนแปลงการปกครอง และแนวคิดเกี่ยวกับการศึกษาประวัติศาสตร์การเมืองไทย  บทที่ 2 2475 : การปฏิวัติสยาม บทที่3  การเมืองไทยหลัง 24 มิถุนายน 2475 : ประนีประนอมหรือขัดแย้ง บทที่ 4 ลัทธิชาตินิยม-ลัทธิทหาร : รัฐบาลจอมพลป.พิบูลสงคราม 2481-2487 บทที่ 5 การเมืองและเศรษฐกิจไทยสมัยสงครามโลกครั้งที่สอง  บทที่6 ขบวนการเสรีไทยและการเมืองไทยสมัยสงครามโลกครั้งที่สอง บทที่ 7 จุดจบของรัฐบาลจอมพลป.พิบูลสงคราม และการสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่สอง บทที่ 8 การเมืองไทยหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 และสมัยของคณะรัฐประหาร (2490-2500)
 
ธำรงศักดิ์ เพชรเลิศอนันต์ เขียนในคำนำตอนหนึ่งว่า  หนังสือเรื่อง “ประวัติการเมืองไทย 2475-2500” ของอาจารย์ชาญวิทย์เล่มนี้เห็นได้ว่าเป็น “งาน”ที่ยังไม่แล้วเสร็จตามความมุ่งมาดปรารถนา หากพิจารณาที่ปรากฏในบทนำนั้น ดูจะแสดงให้เห็นภาพรวมของเส้นทางเดินประวัติการเมืองไทยที่ครอบคลุมถึงการเมืองหลังการปฏิวัติตุลาคม 2516 ช่วงระยะเวลา 25 ปีแรกนับจากการเปลี่ยนแปลงการปกครอง2475  เป็นช่วงที่การเมืองไทยเต็มไปด้วยการต่อสู้แย่งชิงอำนาจของกลุ่มฝ่ายต่าง ๆ ทั้งในเวทีการเมืองตามกติกาและนอกกติกา การรัฐประหารและลัทธิทหารขึ้นมาขัดพัฒนาการประชาธิปไตยเป็นช่วง ๆ ชาญวิทย์ เกษตรศิริ เขียนงานเล่มนี้ออกมาตีพิมพ์ครั้งแรกเมื่อปี 2533 จนกระทั่งหนหลังสุดนี้เป็นการตีพิมพ์ครั้งที่ 4 เสมือนฉลองวาระ 16 ปีแห่งความหลัง ที่หลายเหตุการณ์กลับตามมาหลอกหลอนให้ย้อนยุค ทั้งการเผชิญหน้าแบ่งฝ่าย และรัฐประหารในยุคที่หลายคนนึกไม่ถึงประวัติการเมืองไทย 2475-2500 แบ่งการนำเสนอออกเป็น 8 บท เรียงตามลำดับเวลา เริ่มจากบทแรก เป็นบทนำว่าด้วยสังคมและการเมืองไทย ให้เห็นเส้นทางเดินจากสยามเก่าจนถึงการเปลี่ยนแปลงการปกครอง และแนวคิดเกี่ยวกับการศึกษาประวัติศาสตร์การเมืองไทย  บทที่ 2 2475 : การปฏิวัติสยาม บทที่3  การเมืองไทยหลัง 24 มิถุนายน 2475 : ประนีประนอมหรือขัดแย้ง บทที่ 4 ลัทธิชาตินิยม-ลัทธิทหาร : รัฐบาลจอมพลป.พิบูลสงคราม 2481-2487 บทที่ 5 การเมืองและเศรษฐกิจไทยสมัยสงครามโลกครั้งที่สอง  บทที่6 ขบวนการเสรีไทยและการเมืองไทยสมัยสงครามโลกครั้งที่สอง บทที่ 7 จุดจบของรัฐบาลจอมพลป.พิบูลสงคราม และการสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่สอง บทที่ 8 การเมืองไทยหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 และสมัยของคณะรัฐประหาร (2490-2500) ธำรงศักดิ์ เพชรเลิศอนันต์ เขียนในคำนำตอนหนึ่งว่า  หนังสือเรื่อง “ประวัติการเมืองไทย 2475-2500” ของอาจารย์ชาญวิทย์เล่มนี้เห็นได้ว่าเป็น “งาน”ที่ยังไม่แล้วเสร็จตามความมุ่งมาดปรารถนา หากพิจารณาที่ปรากฏในบทนำนั้น ดูจะแสดงให้เห็นภาพรวมของเส้นทางเดินประวัติการเมืองไทยที่ครอบคลุมถึงการเมืองหลังการปฏิวัติตุลาคม 2516แม้จะถูกจัดว่าเป็น “งาน”ที่ยังไม่เสร็จ แต่นั่นมิได้หมายถึงว่าจะเพิกเฉยต่องานชิ้นนี้ไปได้ หากคุณเป็น “คอการเมือง” ที่สนใจหนังชีวิตเรื่องยาว นี่เป็นหนังสืออีกเล่มที่ควรหยิบมาพิจารณาสักครั้ง——————————————————————————————– การเมืองระบบพ่อขุนอุปถัมภ์แบบเผด็จการ  แต่งโดย ทักษ์ เฉลิมเตียรณ พิมพ์ครั้งที่ 2 (ปรับปรุงเพิ่มเติม) พฤษภาคม 2548 หนา 518 หน้า มูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ จัดพิมพ์ ราคา 290 บาท ชื่อของ “สฤษดิ์ ธนะรัชต์” ยังอยู่ในความทรงจำของผู้ที่รักความสงบเรียบร้อยของบ้านเมืองแบบที่ต้องใช้ความเฉียบขาดมาจัดการปราบปรามอยู่เสมอ แต่นามของบุคคลเดียวกันนี้กลับเป็นนามอันน่าชังเมื่ออยู่กับคนอีกกลุ่มหนึ่ง ชื่อของ “สฤษดิ์ ธนะรัชต์” ยังอยู่ในความทรงจำของผู้ที่รักความสงบเรียบร้อยของบ้านเมืองแบบที่ต้องใช้ความเฉียบขาดมาจัดการปราบปรามอยู่เสมอ แต่นามของบุคคลเดียวกันนี้กลับเป็นนามอันน่าชังเมื่ออยู่กับคนอีกกลุ่มหนึ่งหนังสือเล่มนี้แปลจากวิทยานิพนธ์ปริญญาเอกเรื่อง Thailand : The Politics of Despotic Paternalism จัดพิมพ์เป็นเล่มครั้งแรกเมื่อปี 2522 ในการพิมพ์ครั้งหลัง ผู้แต่งได้เขียนคำนำเพิ่มเติมกล่าวไว้ในตอนหนึ่งว่า ชื่อของ “สฤษดิ์ ธนะรัชต์” ยังอยู่ในความทรงจำของผู้ที่รักความสงบเรียบร้อยของบ้านเมืองแบบที่ต้องใช้ความเฉียบขาดมาจัดการปราบปรามอยู่เสมอ แต่นามของบุคคลเดียวกันนี้กลับเป็นนามอันน่าชังเมื่ออยู่กับคนอีกกลุ่มหนึ่งหนังสือเล่มนี้แปลจากวิทยานิพนธ์ปริญญาเอกเรื่อง Thailand : The Politics of Despotic Paternalism จัดพิมพ์เป็นเล่มครั้งแรกเมื่อปี 2522 ในการพิมพ์ครั้งหลัง ผู้แต่งได้เขียนคำนำเพิ่มเติมกล่าวไว้ในตอนหนึ่งว่า“..แม้หนังสือนี้จะเป็นเรื่องเกี่ยวกับระบบเผด็จการทหารที่แสดงตัวเป็นผู้ชนะและผู้พิทักษ์ทางความคิดประชาธิปไตยแบบที่เคยเป็นมาแต่ครั้งบรรพบุรุษและแบบท้องถิ่น หากทว่าในความจริงแล้ว หนังสือเล่มนี้เป็นความพยายามของผู้เขียนที่จะให้นักศึกษานักวิชาการได้สำรวจตรวจสอบอย่างละเอียดถี่ถ้วนถึงรากเหง้าของระบบเผด็จการทหารนั้นว่า ทำไมระบบเผด็จการนี้จึงได้รับความสำเร็จ และระบบเผด็จการนี้จะนำไปสู่การพัฒนาทางการเมืองในทิศทางใดในอนาคต”ในการพิมพ์ครั้งที่สอง นอกจากมีคำนำเขียนขึ้นใหม่ขนาดยาวจากผู้เขียนเองแล้ว ยังมี “บทผนวก” เพิ่มขึ้น ทำให้ไม่ล้าสมัยจนเกินไป และจะทันสมัยยิ่งขึ้นเมื่อนำมาอ่านในสถานการณ์ปัจจุบัน——————————————————————————————– จาก 14 ถึง 6 ตุลา  ชาญวิทย์ เกษตรศิริ และธำรงศักดิ์ เพชรเลิศอนันต์ บรรณาธิการ   พิมพ์ครั้งที่สาม 6 ตุลาคม 2544 หนา 416 หน้า มูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ จัดพิมพ์ ราคา 250 บาท  บางคนอาจคิดว่าหนังสือเล่มนี้ตั้งชื่อผิด ทำไม 14 ถึงมาก่อน 6 ตุลาคม อันที่จริงแล้วคงจะมีชื่อเต็มว่า จาก14 ตุลาคม 2516 ถึง 6 ตุลาคม 2519 จึงจะทำให้คนคลายสงสัยไปบ้าง บางคนอาจคิดว่าหนังสือเล่มนี้ตั้งชื่อผิด ทำไม 14 ถึงมาก่อน 6 ตุลาคม อันที่จริงแล้วคงจะมีชื่อเต็มว่า จาก14 ตุลาคม 2516 ถึง 6 ตุลาคม 2519 จึงจะทำให้คนคลายสงสัยไปบ้างหนังสือเล่มนี้รวบรวมบทความทางวิชาการที่ยอมรับกันว่าดีที่สุดที่อธิบายเกี่ยวกับเหตุการณ์ทั้งสองไว้ในเล่มเดียวกัน ประกอบด้วยภาคแรก การเมืองไทยกับปฏิวัติตุลาคม โดย เสน่ห์ จามริก  ความรุนแรงและรัฐประหาร 6 ตุลาคม 2519  โดย ป๋วย อึ๊งภากรณ์ บ้านเมืองของเราลงแดง : แง่มุมทางสังคมและวัฒนธรรมของรัฐประหาร 6 ตุลาคม  แต่งโดย เบเนดิก แอนเดอร์สัน แปลเป็นภาษาไทยโดย เกษียร เตชะพีระ ธเนศ อาภรณ์สุวรรณ และชาญวิทย์ เกษตรศิริ  6 ตุลา กับสถานะทางประวัติศาสตร์การเมือง โดย ชาญวิทย์ เกษตรศิริ ส่วนในภาคสอง14 ตุลา : บันทึกประวัติศาสตร์ โดยชาญวิทย์ และลำดับเหตุการณ์ทางการเมืองของไทย 14 ตุลาคม 2516 – 6 ตุลาคม 2519 โดย เกรียงศักดิ์ เชษฐพัฒนวนิช บางคนอาจคิดว่าหนังสือเล่มนี้ตั้งชื่อผิด ทำไม 14 ถึงมาก่อน 6 ตุลาคม อันที่จริงแล้วคงจะมีชื่อเต็มว่า จาก14 ตุลาคม 2516 ถึง 6 ตุลาคม 2519 จึงจะทำให้คนคลายสงสัยไปบ้างหนังสือเล่มนี้รวบรวมบทความทางวิชาการที่ยอมรับกันว่าดีที่สุดที่อธิบายเกี่ยวกับเหตุการณ์ทั้งสองไว้ในเล่มเดียวกัน ประกอบด้วยภาคแรก การเมืองไทยกับปฏิวัติตุลาคม โดย เสน่ห์ จามริก  ความรุนแรงและรัฐประหาร 6 ตุลาคม 2519  โดย ป๋วย อึ๊งภากรณ์ บ้านเมืองของเราลงแดง : แง่มุมทางสังคมและวัฒนธรรมของรัฐประหาร 6 ตุลาคม  แต่งโดย เบเนดิก แอนเดอร์สัน แปลเป็นภาษาไทยโดย เกษียร เตชะพีระ ธเนศ อาภรณ์สุวรรณ และชาญวิทย์ เกษตรศิริ  6 ตุลา กับสถานะทางประวัติศาสตร์การเมือง โดย ชาญวิทย์ เกษตรศิริ ส่วนในภาคสอง14 ตุลา : บันทึกประวัติศาสตร์ โดยชาญวิทย์ และลำดับเหตุการณ์ทางการเมืองของไทย 14 ตุลาคม 2516 – 6 ตุลาคม 2519 โดย เกรียงศักดิ์ เชษฐพัฒนวนิชสำหรับคนรุ่นหลังที่เกิดไม่ทันเหตุการณ์ทั้งสอง หนังสือเล่มนี้เป็นทางลัดที่ดีที่สุดในการทำความเข้าใจสองเหตุการณ์สำคัญของการเมืองเดือนตุลา อย่างน้อยที่สุดจะได้ไม่เรียกชื่อสลับกัน ก็น่าจะพอใจแล้ว——————————————————————————————–  
Comments Off on หนังสือ/การเมือง